What's time?

2551/07/10

เหนี่ยวนำเทคโนพลาสมา ปรับปรุงผ้าไหมสู้ตลาดโลก















เหนี่ยวนำเทคโนพลาสมา ปรับปรุงผ้าไหมสู้ตลาดโลก




what is plasma?.....หลายคนสงสัยว่า พลาสมา คืออะไร?


ใน ศาสตร์ทางฟิสิกส์...ได้นำวิทยาการนี้มาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2472 โดย พลาสมาเป็นสถานภาพที่สี่ของสสาร...นอกเหนือจาก 3 สถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และ ก๊าซ



พลาสมาเกิดจากก๊าซมีการแตกตัว ทำให้ อิเล็กตรอน หลุดออกจาก อะตอม...



...อะตอมหรือโมเลกุลของก๊าซได้รับพลังงาน หรือ ความร้อนจากภายนอกมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการแตกตัวได้ ในสถานะประกอบไปด้วยกลุ่มอะตอมของก๊าซที่อยู่ร่วมกันกับอิเล็กตรอน และไอออน ที่ไม่เป็นกลางทางไฟฟ้า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง



ดร.ประดุง สวนพุฒ จากศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า...ได้ดำเนินการโครงการวิจัยเทคโนโลยีพลาสมา สำหรับการปรับปรุงคุณภาพไหมไทย (Plasma Technology for Surface Modification of Thai Silk) ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อมุ่งเน้นถึงการนำเอาเทคโนโลยีพลาสมามาประยุกต์ใช้ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ในเรื่องของการปรับ ปรุงคุณภาพผิวของสิ่งทอให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น



....การปรับปรุงคุณภาพผิวของสิ่งทอโดยการใช้พลาสมา คือการนำเอาสิ่งทอไปอาบหรือจุ่มในพลาสมาอุณหภูมิต่ำ (low temperature plasma, LTP) ซึ่งจะทำให้ อนุภาคต่างๆ สามารถไปเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงผิวของเส้นใยของสิ่งทอ



เนื่องจากอนุภาคเหล่านี้จะไปสร้างพันธะทางเคมีใหม่ กับโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบของเส้นใยสิ่งทอ หรือบางครั้งอาจไปแทรกอยู่ในระหว่างโครงสร้างโมเลกุลของเส้นใยสิ่งทอ หรืออาจจะเกิดการกัดที่ผิว (etching) ทำให้อนุภาคหรือโมเลกุลของสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่ตามเส้นใยของสิ่งทอหลุดออกไป



...ผลของการเปลี่ยนแปลงนี้...ขึ้นอยู่กับชนิด ของก๊าซที่ใช้ในการผลิตพลาสมาและค่าตัวแปรอื่นๆอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การทำให้ผ้าไหมดูดซับน้ำได้ยาก (hydrophobic) หรือทำให้ผ้าโพลีเอสเตอร์มีคุณสมบัติให้ดูดซับน้ำได้ดี (hy-drophilic) และหากพลาสมามีฟลูออรีนประกอบ อยู่จะสามารถฆ่าเชื้อให้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรืออุปกรณ์ปลูกฝัง (implant) ที่ใช้ผ้าเป็นองค์ประกอบ....



...โครงการวิจัยนี้เป็นการเพิ่มคุณภาพของสิ่งทอ และลดค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการผลิตรวมถึงการทดแทนขบวนการ ที่ต้องใช้สารเคมีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ



สำหรับกระบวนการอาบไหมไทยและสิ่งทอ ใช้กระบวน การอาบพลาสมาให้มีคุณภาพให้ดีขึ้น เนื่องจากกระบวนการพลาสมาเป็นกระบวนการที่ไม่ใช้สารเคมี จึงเป็นเทคโนโลยีสะอาดซึ่งลดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความแตกต่างให้กับสินค้า



...อันเป็นทางเลือก สำหรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยสู่ตลาดโลก...!!!



ไชยรัตน์ ส้มฉุน



http://www.azooga.com/content_detail.php?cno=620











3 ความคิดเห็น:

คุณ พอเพียง กล่าวว่า...

นี่เป็นความรู้ไหม่จริงๆ เพราะไม่ทราบมาก่อนว่า ยังมีสถานภาพที่สี่ของสสารอีก แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีตรงที่ว่าสามารถนำมาปรับปรุงผ้าทอของไทยได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมไทย แต่คิดว่าน่าจะทำอย่างจริงจังรวมไปถึง หาแหล่งตลาดที่สำคัญด้วย เพราะฉนั้นสิ่งที่สำคัญรัฐบาลต้องหันมาสนุบสนุนอุตสาหกรรมทอผ้าไทยเพราะสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทยเพราะส่อถึงวัฒนธรรมและความเป็นไทย และเมื่อตัดสินใจทำแล้วก็ต้องทำให้ได้และดีที่สุด

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้ามีการทดลองนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาก็ดีเหมือนกันนะ
มันทำให้เรามีทางเลือกได้มากขึ้น

Zi_Si กล่าวว่า...

ผ้าไหมไทยมีชื่อเสียงในเรื่องของความสวยงามและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ถ้าได้มีการพัฒนาคุณภาพขึ้นมาอีกโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ น่าจะช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับตัวผ้าได้อีก และที่สำคัญสิ่งที่ได้พัฒนาขึ้นมานี้ก็ไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคด้วยแล้ว ก็กำลังเข้ากับยุคของการรณรงค์ในเรื่องโลกร้อนและมลพิษที่เกิดขึ้นบนโลกอีกด้วย